วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day in Thailand

วันสิ่งแวดล้อมโลก เป็นวันที่ได้รับการประกาศจากองค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์ จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ระดับโลกขึ้นที่ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน ในช่วงวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศสวีเดนเป็นประธานในการประชุมในครั้งนั้น

วันน้ำของโลก World Day for Water World Water Day

วันน้ำของโลก (อังกฤษ: World Day for Water หรือชื่อที่ไม่เป็นทางการคือ "World Water Day") ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น " วันน้ำของโลก " หรือ " World Day for Water " เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 1992 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21 จัดโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ (UN Water) ซึ่งในแต่ละปีจะมีหน่วยงาน ในสังกัดองค์การสหประชาชาติรับผิดชอบในการร่วมจัดงาน ซึ่งในปี 2007 นี้ องค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) (ในนามโครงการน้ำเพื่อ ชีวิต) (Water for life) เป็นผู้จัดร่วม ในหัวข้องาน(ธีม) ว่า Coping with Water Scarcity

เทศกาลกินเจ

ประเพณีการกินเจกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

ผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
  1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ใน สภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
  2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้น ซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา
  3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือด เนื้อผู้อื่นมาเป็นองเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามา ขาย กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเรา สั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหาร เจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น

วันต่อต้านยาเสพติดโลก International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking

วันต่อต้านยาเสพติดโลก (อังกฤษ: International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหมายความถึงยาเสพติด ยึดถือเป็นวันสำคัญประจำปีมาตั้งแต่การประกาศเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่นโดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี (จีน: 林則徐) ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ก่อนสงครามฝิ่น (จีน: 虎门销烟) ครั้งแรก

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีมติที่ 41/111 [1] เริ่มสอดส่องสังเกตสถานการณ์ยาเสพติดทั่วโลกเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)

รายงานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้ยาเสพติดทั่วโลก [2] ประเมินมูลค่าการค้ายาในทางที่ผิดถึง 322 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ต่อปี [3]

วันชาติ National Day China USA France HK

วันชาติ คือวันที่กำหนดเป็นวาระเฉลิมฉลองความเป็นชาติของประเทศนั้นๆ โดยมากมักจะถือเป็นวันหยุดประจำชาติด้วย วันชาตินั้นมักจะเป็นวันก่อตั้งรัฐ หรือดินแดน หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ หรือวันที่มีเอกราชในรัฐ (หรือได้รับเอกราชคืนจากผู้ยึดครอง) นอกจากนี้ยังอาจใช้วันที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ หรือศาสนา เป็นวันชาติก็ได้ บางรัฐถือวันเกิดของประมุขแห่งรัฐเป็นวันชาติ โดยเฉพาะรัฐที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในกรณีที่เปลี่ยนพระประมุขวันชาติก็เปลี่ยนด้วย หรืออาจจะเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ โดยทั่วไป

ประเทศส่วนใหญ่จะมีวันชาติเพียงวันเดียวในหนึ่งปี แต่บางชาติ เช่น ปากีสถาน มีวันชาติมากกว่า 1 วัน นอกจากนี้เขตบริหารพิเศษของจีน เช่น ฮ่องกง และมาเก๊า จะฉลองวันที่ก่อตั้งเขตบริหารพิเศษ และฉลองในวันชาติของจีนด้วย

ความสำคัญของวันชาติในแต่ละประเทศนั้นย่อมแตกต่างกันไป บ้างก็เห็นว่ามีความสำคัญมาก บ้างก็ไม่เน้นความสำคัญมากนัก เช่น ในประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ขณะที่ประเทศอังกฤษไม่สู้จะฉลอง อย่างเอิกเกริกมากนัก นอกจากนี้วันชาติในบางประเทศอาจเปลี่ยนได้ตามเหตุการณ์สำคัญ

วันงดสูบบุหรี่โลก World No Tobacco Day No drug thai day

วันงดสูบบุหรี่โลก (อังกฤษ: World No Tobacco Day) ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 โดยองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม

วันคุ้มครองโลก หรือ เอิร์ธเดย์ Earth Day International Day April UNEP equinox

วันคุ้มครองโลก หรือ เอิร์ธเดย์ (อังกฤษ: Earth Day) ตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Program "UNEP") เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513

ในประเทศจัดให้มีกิจกรรมวันคุ้มครองโลกเป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรีนพีซ

นอกจากวันเอิร์ธเดย์ 22 เมษายนแล้ว ยังมีวันเอิร์ธเดย์ที่ถูกกำหนดขึ้นจากช่วงวิษุวัต หรือ อิกควินอกซ์ (equinox) เช่นกัน วิษุวัตเป็นช่วงที่ในกลางวันและกลางคืนมีระยะเวลาเท่ากัน และเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ และฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่แกนขั้วโลกจะตั้งได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรมาก ที่สุด ในช่วงวันที่ 20-21 มีนาคมของทุกปี

วันครู Teacher Day Thai Holiday

วันครู เป็นระลึกถึงความสำคัญของครู ประเทศส่วนใหญ่เป็นวันหยุดของครูและนักเรียน และบางประเทศมีการจัดงานเลี้ยงสำหรับครู

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภา สามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยา

วันขึ้นปีใหม่ New Year Day Thai Holiday

วันขึ้นปีใหม่ คือวันแรกของปี มักจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และนับเป็นวันสำคัญของปี ปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่สากล ตามปฏิทินเกรกอเรียน และถือเป็นวันหยุดต่อมาจากวันสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ในแต่ละชาติที่ใช้ปฏิทินแบบอื่น ก็จะมีวันขึ้นปีใหม่ที่แตกต่างกันไป เช่น วันตรุษจีน วันสงกรานต์ เป็นต้น

วันวิสาขบูชา Vesak Thai Holiday Bhuda dhamma day

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชา ชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทิน จันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระ พุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินี วัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจน ปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้ง โลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์ สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

วันมาฆบูชา Magha Puja Thai Holiday Bhuda

วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อังกฤษ: Magha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4) [2]

วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระ พุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆ สันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]

เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์ สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วัน มาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน

วันเข้าพรรษา Vassa Day Thai Holiday

วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆိုး) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวัน หนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณี ปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลง แปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายใน อาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาล ทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"[2] โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร[3] ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษา และในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย[4]

วันอาสาฬหบูชา Asalha Puja Thai Holiday Bhuda

วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อังกฤษ: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ

วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ[2]ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์[3]

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สาม บริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)[4] โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[5] กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธี อาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล

อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศ ไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเทศแอฟริกาใต้ | About The Republic of South Africa Country and information

ประเทศแอฟริกาใต้ หรือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: The Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า "แอฟริกาใต้" (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับ ประเทศนามิเบีย ประเทศบอตสวานา ประเทศซิมบับเว ประเทศโมซัมบิก และ ประเทศสวาซิแลนด์ ส่วนประเทศเลโซโท (Lesotho) เป็นดินแดนที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชรและ ทองคำ

คู่กรรม หนังภาพยนตร์

ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย นาท ภูวนัย เป็น โกโบริ และฉบับนี้มีผู้รับบท อังศุมาลิน ถึง 2 คน ได้แก่ ดวงนภา อรรถพรพิศาล และ หลิงลีจู ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2531 สร้างโดย บริษัท ไฟว์สตาร์ นำแสดงโดย วรุฒ วรธรรม รับบทเป็น โกโบริ จินตหรา สุขพัฒน์ รับทเป็น อังศุมาลิน กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2538 สร้างโดย บริษัท แกรมมี่ ฟิล์ม นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์ รับบทเป็น โกโบริ อาภาศิริ นิติพน รับบทเป็น อังศุมาลิน ธีรภัทร์ สัจจกุล รับบทเป็น วนัส กำกับการแสดงโดย ยุทธนา มุกดาสนิท ร่วมด้วย พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ และนิพนธ์ ผิวเณร
ซึ่งทั้ง 2 ครั้งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองไปทั้ง คู่

คู่กรรม Sunset at Chaophraya | koogum thai drama

คู่กรรม (Sunset at Chaophraya) นวนิยายรักประเภทโศกนาฏกรรมที่มีฉากหลังเป็นประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชื่อเสียงมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ของทมยันตี เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ตีพิมพ์เป็นตอนในนิตยสารศรีสยาม (ในเครือนิตยสารขวัญเรือน) [1] และรวมเล่มเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 ได้เคยถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์, ภาพยนตร์และละครเวทีหลายต่อหลายครั้ง และมีภาคต่อคือ คู่กรรม 2

กวาง กมลชนก โกมลฐิติ kwang kamonchanok komonkitti thai star profile

กมลชนก โกมลฐิติ (ชื่อเล่น กวาง) เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2510 ศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มมีผลงานการแสดง ปี 2529 จากเรื่อง เฮงได้เฮงดีรักนี้ คู่กับ อำพล ลำพูน หนังของพรพจน์ กนิษฐเสน และมีผลงานละครอย่าง อาญารัก คู่กรรม บ่วงเล่ห์เสน่หา เคยมีผลงานเพลงออกอัลบั้มเดี่ยวอีกครั้งกับแกรมมี่ ชื่ออัลบั้ม "หัวใจยิ้มได้" ในปี 2536 นอกจากนี้เธอยังเคยออกอัลบั้มคู่กับสามี นุติ เขมะโยธิน ด้วย ชื่ออัลบั้ม "Dear Knot" นอกจากนี้ยังเป็นพิธีกรอย่างรายการน่ารักน่ารู้ เป็นต้น
ทางด้านชีวิตส่วนตัว มีบุตรอยู่ 2 คน

สุวนันท์ คงยิ่ง | Suvanan kongying thai star profile

ชีวิต ช่วงแรก

สุวนันท์ คงยิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ที่ โรงพยาบาลศิริราช เป็นบุตรของนายอำนวย และนางอุบลรัตน์ คงยิ่ง มีน้องชาย 1 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนทรงวิทย์ศึกษา ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และได้รับปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาการโฆษณา มหาวิทยาลัยรังสิต[1]

ผล งานเด่น

เนื่องจากผลงานของเธอมักจะได้รับการตอบรับที่ดีอยู่เสมอ จนมีการตั้งฉายาว่า "นางเอกหมายเลข 1" ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สุวนันท์เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในปี พ.ศ. 2534 กับบทบาทนางเอกละครพื้นบ้านเรื่อง "มาลัยทอง"และ"ยอพระกลิ่น" เป็นดาราละครคนแรกที่คุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้ที่มีสมญานามว่า "เจ้าแม่ช่อง 7" จับให้กบ สุวนันท์ เซ็นสัญญาเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในสมัยนั้น แต่จุดเปลี่ยนของอาชีพนักแสดงของเธอ เกิดขึ้นเมื่อเธอได้รับการติดต่อให้มารับบทนำในละครหลังข่าวเรื่อง "ผยอง (2536) " ประกบคู่กับศรราม เทพพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระเอกหนุ่มที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในขณะนั้น แทนวิชชุดา สวนสุวรรณที่ได้เสียชีวิตไปก่อน หน้านี้ หลังจากละครเรื่องนี้ได้แพร่ภาพออกไป ก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนทำให้วลี "เหินฟ้า" จากละครเรื่องนี้กลายเป็นวลีติดปาก นอกจากละครเรื่องนี้ทำให้ชื่อเสียงของสุวนันท์เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวง กว้างแล้ว การจับคู่กันของพระ-นางในเรื่องยังถือเป็นจุดกำเนิดคู่ขวัญคู่ใหม่ของวงการ คือ ศรราม-สุวนันท์ ที่ในเวลาต่อมาก็ได้แสดงคู่กันอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นละครเรื่อง "ดาวพระศุกร์ (2537) " และ"สายโลหิต (2538) " ซึ่งล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จในระดับสูงทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวมบทบาท "ดาว" ในละครเรื่อง "ดาวพระศุกร์" ได้เรียกน้ำตาของผู้ชมอย่างล้นหลาม ไม่เพียงแต่ละครเรื่องนี้จะขึ้นทำเนียบละครที่มีเรตติ้งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ตลอดกาลของไทยเท่านั้น (เรตติ้ง34-36) (เป็นรองเพียงเรื่อง "คู่กรรม (2533) " ที่นำแสดงโดย ธงไชย แมคอินไตย์ และ กมลชนก โกมลฐิติ) และจากความดังของเรื่องนี้ส่งผลให้ สุวนันท์ คงยิ่ง ขึ้นทำเนียบนางเอกยอดนิยมคนใหม่ของประเทศไทยนับแต่นั้นมา

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในกัมพูชา ได้ลงบทสนทนาตอนหนึ่งของสุวนันท์ในละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่งลงในฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นเหม่ต่อการดูหมิ่นประเทศกัมพูชา ทำให้ชาวกัมพูชาส่วนหนึ่งไม่พอใจ ก่อเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในกรุงพนมเปญเมืองหลวงของประเทศ และลุกลามไปถึงขั้นเผาสถานทูตไทยที่นั่น ทำให้ทางรัฐบาลไทยตอบโต้ด้วยการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตลง ส่วนทางสุวนันท์ก็ได้เปิดแถลงข่าวขอโทษด้วยน้ำตา ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการเข้าใจผิดกันล้วนๆ และประเด็นความจริงเกิดจากมือที่สามที่นำชื่อเธอเข้าไปพัวพันกับการเมืองของ ประเทศกัมพูชา
เดือนมกราคม พ.ศ. 2549 สุวนันท์ คงยิ่ง เริ่มต้นบทบาทใหม่ในการเป็นพิธีกรรายการวาไรตี้ ทุกคืนวันจันทร์หลังข่าว ชื่อว่า "จันทร์พันดาว" คู่กับ ณัฐวุฒิ สกิดใจดาราชายชื่อดัง และเป็นหนึ่งในทีมพิธีกรของรายการ 07 โชว์ ทุกเย็นวันอาทิตย์

วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้เข้าพิธีสมรสกับ บรู๊ค ดนุพร ปุณณกันต์ ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอด เซ็นทรัลเวิลด์ ท่ามกลางความยินดีของผู้ใหญ่ในวงการการเมือง ศิลปิน ดาราในวงการบันเทิง สื่อมวลชน และบรรดาแฟนคลับ ที่มากันอย่างคับคั่ง ในปีนี้เธอได้พักงานละครไป เพราะเธออิ่มตัวกับการแสดงละคร อยากพักบ้าง ทำให้ปีนี้ไม่มีผลงานละครของเธอเลย มีแต่งานพิธีกรต่างๆ แต่ถึงกระนั้นกระแสความดังของเธอมิได้ถดถอยลงไป มีแต่คนสนใจเธอมากขึ้น โดยดูได้จากสถิติเว็บไซด์กูเกิ้ล ที่ชื่อของเธอเป็นชื่อที่ถูกค้นหามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของไทย สาขาบันเทิง

ปี 2553 เธอได้ทำธุรกิจของเธอนั่นคือ โรงเรียนสอนการแสดงสุวนัน อคาเดมี่ โดยเธอได้รวบรวมบรรดานักแสดงมืออาชีพมากมายมาเป็นครูสอนในสถาบันการแสดงของ เธอ อาทิ โย ทัศวรรณ,หมู ดิลก,เติ้ล ตะวัน และปีนี้เธอได้กลับมาเล่นละครอีกครั้ง ในละครพีเรียดฟอร์มยักษ์ของค่ายดาราวิดีโอ โดยเป็นการพลิกบทบาทครั้งแรกของเธอ ที่เล่นร้ายเต็มตัว ในละครเรื่อง เรือนซ่อนรัก ในบทของคุณดารารุ่ง

AF7 ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 7 About True Academy Fantasia Season 7 True Vision UBC

 ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 7 เป้นรายการเรียลลิตี้ค้นหานักร้องเพื่อประดับวงการบันเทิง ในชุด ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย โดยในซีซั่นนี้เป็นครั้งแรกที่ทรูใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก) ในการประชาสัมพันธ์รายการร่วมกับเว็บไซต์หลัก และมีการถ่ายทอดสดผ่านระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงทางช่อง ทรู เรียลลิตี้ เอชดี โดยมีการรับสมัครผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2553 และจะมีการประกาศผลผู้เข้ารอบสุดท้าย ในวันที่ 23 มิถุนายน 2553 จำนวน 100 คนและเป็นฤดูกาลแรกที่อายุของผู้เข้าสมัครเปลี่ยนเป็น 15-25 ปีจากเดิมที่ 18-28 ปี

เซอร์ไพรส์ และเหตุการณ์สำคัญในฤดูกาลนี้

  • การคัดเลือกรอบสุดท้าย โดยปกติแล้วในทุกฤดูกาลจะทำการคัดเลือก 12-20 คนเป็นที่เรียบร้อยก่อนที่จะเข้ามาในบ้าน แต่ในฤดูกาลนี้ได้คัดจำนวน 100 คนเข้าไปในบ้านเพื่อทำการฝึกสอนก่อนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในวันที่ 28 มิถุนายน-3 กรกฏาคม พ.ศ. 2553 ก่อนและทำการคัดเลือกจนเหลือ 12 คนในวันที่ 3 กรกฏาคม ณ อิมแพ็ค อารีนา และเริ่มการแข่งขันอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 กรกฏาคม เป็นต้นไป

ตาราง สรุปผลการเเข่งขัน

นักล่าฝันฝ่ายชาย
  • V3 เบน - เบนจามิน วาร์นี (18 ปี)
  • V6 น้ำเเข็ง - ชญาน์ทัต อยู่เป็นแก้ว (21 ปี)
  • V8 กรีน - จิรพัฒน์ ศิริไชย (21 ปี)
  • V10 บอส - ธนบัตร งามกมลชัย (16 ปี)
  • V11 มาร์ค - วิทวัส ท้าวคำลือ (17 ปี)
  • V12 ปอ - อรรณพ ทองบริสุทธิ์ (16 ปี)
นักล่าฝันฝ่ายหญิง
  • V1 มีน - กาญจ์คนึง เนตรสีทอง (22 ปี)
  • V2 เกรฟ - สุดารัตน์ เผ่าปฎิมากร (15 ปี)
  • V4 นิว - คนธนันท์ รัตนชาติวงศ์ (15 ปี)
  • V5 นัตตี้ - ณัชภัสร์ พิพัฒน์ไชยศิริ (15 ปี)
  • V7 ปั๋ม - ปวรรัตน์ กิตติมงคลเลิศ (15 ปี)
  • V9 ผ้าเเพร - ธรัญญ่า มโนลีหกุล (17 ปี)

ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย
รูปแบบ เรียลลิตี้
พิธีกร เศรษฐา ศิระฉายา
ต้นกำเนิด ไทย
จำนวนตอน 12
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้าง อรรถพล ณ บางช้าง
สถานที่ ทรูวิชั่นส์ สตูดิโอ บางนา , ธันเดอร์โดม , อิมแพ็ค อารีน่า
ความยาวตอน ถ่ายทอดสด ทุกวันเสาร์ 20.00 - 22:30 น.
การออกอากาศ
เครือข่าย/สถานี ทรูวิชั่นส์ , ทรู มิวสิก , โมเดิร์นไนน์ทีวี
ออกอากาศ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 16.00 น. – 25 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 24.00 น.
รายการที่เกี่ยวข้อง
รายการก่อนหน้า ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 6
เว็บไซต์ทางการ
TrueAF.TrueLife.com

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University CMU History Map Community

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย โดยใช้ชื่อตามจังหวัดเป็นแห่งแรก เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งขึ้นใน ส่วนภูมิภาค และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ขนาบข้างด้วยถนนห้วยแก้ว และถนนสุเทพ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 ก.ม. และมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่เศษ เปิดทำการสอน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2507

ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคขึ้นแต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 การดำเนินงานจึงชะงักลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 รัฐบาลชุดจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาว่า "จะดำเนินการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูง" พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นว่า "น่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่" พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกชื่อมหาวิทยาลัยนี้ว่า "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508

ในระยะเริ่มต้นได้เปิดดำเนินการสอนเพียง 3 คณะ ที่เป็นรากฐานของทุกสาขาวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้รับโอนกิจการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มาเป็นคณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีเดียวกันนี้เอง ได้เริ่มจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นอีกคณะหนึ่ง ในปีการศึกษา 2511 ได้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ และในปีการศึกษา 2513 ได้จัดตั้งคณะใหม่อีก คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 จึงได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะคือ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีคณะทั้งหมดด้วยกัน 21 คณะ โดยในปี พ.ศ. 2518 ได้จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้น และตั้งบัณฑิตวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นหน่วยประสานงานด้านการเรียนการสอนและมาตรฐานหลักสูตรขั้นบัณฑิต ศึกษามีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งแต่การดำเนินงานด้าน การสอนและการวิจัยซึ่งกระทำโดยคณาจารย์ของคณะ และได้มีการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2525 เปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2526 ในปี 2536 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร และในปี พ.ศ. 2538 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มอีก 1 คณะคือคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการจัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะที่ 17 ในปีพ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งอีกสามคณะคือ คณะการสื่อสารมวลชน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (เทียบเท่าคณะ) ล่าสุดปีพ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งคณะที่ 21 คือ คณะนิติศาสตร์ โดย การประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยของไทย สกอ ได้จัดให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในกลุ่ม ดีเลิศ ทั้งการเรียนการสอน และการวิจัย

ในปี พ.ศ. 2550 ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่าน สนช. และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐลำดับ ที่ 12


สัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สีม่วงดอกรัก สีประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปวงกลม ๒ วง ประกอบด้วย วงกลมชั้นนอก จำนวน ๒ เส้น เป็นขอบของตราเครื่องหมายและวงกลมชั้นใน จำนวน ๑ เส้น ระหว่างวงกลมนอกและวงกลมใน ด้านบนมีอักษรบาลี "อตตานํ ทมยนติ ปณฑิตา" ด้านล่างมีอักษรไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่ว่างระหว่างอักษรบาลีและภาษาไทยมีดอกสักคั่นข้างละ ๑ ดอก ภายในวงกลมชั้นในมีรูปช้าง ท่าทางงามสง่าเป็นธรรมชาติ อยู่ในท่าก้าวย่างและชูคบเพลิง รัศมี ๘ แฉก ดังนั้นโดยความหมายแล้ว ช้างหมายถึงภาคเหนือ การก้าวย่างของช้างหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ รัศมี ๘ แฉก หมายถึงคณะทั้ง ๘ ที่มหาวิทยาลัยจะจัดตั้งขึ้น ดอกสักที่คั่น หมายถึง ต้นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ส่วนอักษรไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗ นั้นหมายถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก่อตั้งขึ้นในปี ๒๕๐๗ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ ๖ ของประเทศไทย

"อตตานํ ทมยนติ ปณฑิตา"แปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน เป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สังฆปรินายก ทรงประทานให้มหาวิทยาลัย

พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระพุทธทศพลชินราช และ พระ พุทธพิงคนคราภิมงคล

จังหวัดเชียงใหม่ About Chiang Mai History of ChiangMai Map and Community

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งใน 76 จังหวัดของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรประมาณ 1.63 ล้านคน(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552) แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ มีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางในการ บริหารจัดการและปกครองจังหวัด

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุน จนเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกับจังหวัดอื่น ๆ ทั้งด้านประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม

ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่"  ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย

ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-พ.ศ. 2101) แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์ของพม่า และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัย สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช และ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละ และพระยาจ่าบ้าน

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละ ขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่"

ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลพายัพ" หรือมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น "จังหวัด" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว จนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ ประจำจังหวัด
ดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

    * สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ซึ่งช้างเผือก คือ ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วน เรือนแก้ว คือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
    * ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว
    * ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (ชื่อวิทยาศาสตร์:Butea monosperma)
    * อักษรย่อ: ชม


ประชากร

จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรทั้งสิ้น 1,666,024 คน แยกเป็นชาย 818,958 คน หญิง 851,066 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 83 คน/ตร.กม. (ข้อมูลวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552) ส่วนประชาชนบนพื้นที่สูง มีจำนวนทั้งสิ้น 312,447 คน กระจายอยู่ใน 20 อำเภอ มีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ รวม 13 ชนเผ่า แบ่งเป็นชาวเขา 7 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน (เย้า) อาข่า (อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) ลีซอ (ลีซู) และลัวะ จำนวน 229,382 คน เป็นชนกลุ่มน้อย 5 กลุ่ม ได้แก่ ปะหล่อง ไทใหญ่ ไทลื้อ จีนฮ่อ และอื่นๆ รวมจำนวน 34,022 คน


การ คมนาคม
การจราจรในเชียงใหม่ และรถสองแถวรู้จักในชื่อ"รถแดง"

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมาย เลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 20 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการใน จังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้ โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (สถานีขนส่งอาเขต)
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์-เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่

การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยาน นานาชาติเชียงใหม่ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ มีเส้นทางบินไป - กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินจากเชียงใหม่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ลาว พม่า ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

สำหรับระบบรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (Chiangmai Transit System หรือ CTS) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานขนส่งจังหวัด (สนข.)